ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล

หัวข้อในการศึกษา
1.ความรู้พิ้นฐานของฐานข้อมูล
        ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึงโครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่มี ความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน ที่จะนำมาใช้ในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกัน ระบบฐานข้อมูล จึงนับเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่มข้อมูล การแก้ไข การลบ การค้นหา ตลอดจนการเรียกดูข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งส่วนจะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล และนำฐานข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ต้องการ
2.คำศัพท์ที่ใช้ในระบบฐานข้อมูล
  2.1  Bit (บิต) 
           หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่มีการจัดเก็บในลักษณะของเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1
  2.2 ไบต์ (ไบต์)
           หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำบิตมารวมกันเป็นตัวอักขระหรือตัวอักษร 
  2.3 ฟิลต์ ( Field)
          หมายถึง เขตข้อมูลหรือหน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากไบต์หรือตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัว ขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายเป็นคำเป็นข้อความหรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อบุคคล ตำแหน่ง อายุ เป็นต้น 
  2.4 เรคคอร์ด (Record)
         หมายถึง ระเบียน หรือหน่วยของข้อมูลที่เกิดจาการนำเอาฟิลด์หรือเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูลที่เกี่ยวข้องมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นรายการข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของพนักงาน 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วยฟิลด์ รหัสพนักงาน ชื่อ-สกุล ที่อยู่ ตำแหน่ง เงินเดือน เป็นต้น 
  2.5 ไฟล์ (File)
         หมายถึง แฟ้มข้อมูลหรือหน่วยของข้อมูลที่เกิดจาการนำข้อมูลหลายๆระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น แฟ้มข้อมูลพนักงานแฟ้มข้อมูลลูกค้าแฟ้มข้อมูลสินค้าฯลฯ ส่วนในระบบฐานข้อมูลก็จะมีคำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องที่ควรรู้จักซึ่งจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป 
  2.6 เอนทิตี้ (Entity)
         หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม อาจได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้พนักงาน เอนทิตี้นักเรียน เป็นต้น 
  2.7 แอททริบิวต์ (Attribute)
         หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของแอททริบิวต์หนึ่งๆ เช่น เอนทิตี้สินค้าประกอบด้วยแอททริบิวต์ รหัสสินค้า ประเภทสินค้า ชื่อสินค้า ราคาต่อหน่วย เป็นต้น บางเอนทิตี้ก็ยังอาจประกอบด้วยข้อมูลหลายส่วน หลายแอททริบิวต์ย่อยมารวมกัน เช่น แอททริบิวต์ที่อยู่พนักงาน ประกอบด้วย บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด เช่นนี้แล้ว แอททริบิวต์ที่อยู่พนักงานจึงเรียกว่าเป็น แอททริบิวต์ผสม (Composite Attribute)   
3.การนอมัลไลเซชั่น (Normalization)
  3.1 การลดความซ้ำซ้อน
        Normalization (นอร์มัลไลเซชัน) คือ วิธีการหนึ่งที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลจาก Database ซึ่งเป็นวิธีของการกำหนดแอตทริบิวให้กับแต่ละเอนทิตี้ เพื่อให้ได้โครงร้างของตารางที่ดี สามารถควบคุมความซ้ำซ้อนของข้อมูลและหลีกเลี่ยงความผิดปกติของข้อมูล ซึ่งการทำนอร์มัลไลเซชันจะทำให้จำนวนข้อมูลนั้นลดน้อยลง แต่จำนวนตารางนั้นจะเพิ่มมากขึ้น
  3.2 ทำให้การเปลี่ยนแปลง
         การสร้างรูปแบบต่างๆที่ทำให้เกิดความหลากหลายในการออกแบบฐานข้อมูลซึ่งมีหลาฟอร์ม
  3.3 ลดปัญหาความไม่ถูกต้องของข้อมูล
        ลดความซำ้ซ้อนของการใช้ข้อมูลหรือการเก็บข้อมูล แก้ปัญหาการสร้างระบบที่ไม่ถูกต้อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความรู้เรื่องฐานข้อมูลเบื้องต้น

สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล